วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

topology

TOPOLOGY

โทโปโลยี คือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

4.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

แหล่งที่มา
www.yupparaj.ac.th/

คำถาม
1.โทโปโลยีแบบใด เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
ก.โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
ข.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
ค.โทโปโลยีแบบ (MESH )
ง.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
ตอบ ค.โทโปโลยีแบบ(MESH)เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
2.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า
ก.hot
ข.hub
ค.e-mail
ง.internet
ตอบ ข.hub เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อภายในระหว่างเครื่องไคลเอ็นท์และเครื่องเซิร์ฟเวอร์เข้าด้วยกันรวมทั้งใช้ทวน หรือขยาย สัญญาณระหว่างกันด้วย ตัวฮับเองทำหน้าที่ จุดรวมสายในระบบเครือข่ายโดยมีลักษณะเป็นโครงสร้างรูปดาว
3.โทโปโลยีแบบใดเป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า backbone
ก.star
ข.bus
ค.ring
ง.mesh
ตอบ ข.BUS เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น

4.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)มีรูปแบบอย่างไร
ตอบ เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

5.เทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่อะไรในโทโปโลยีแบบ bus
ตอบ ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้


วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบ

1. โทโปโลยีแบบดาว (star) เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งเรียกว่า
(1) e-mail
(2) hub
(3)internet
(4) host
ตอบ 2 hub เป็นอุปกรณ์สำหรับ เชื่อมต่อภายใน ระหว่างเครื่องไคลเอ็นท์ และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เข้าด้วยกัน รวมทั้งใช้ ทวน (หรือขยาย) สัญญาณระหว่างกันด้วย ตัวฮับเองทำหน้าที่เป็น จุดรวมสาย ในระบบเครือข่าย โดยมีลักษณะโครงสร้าง เป็นรูปดาว (แทนที่จะต่อกัน เป็นลักษณะบัส ซึ่งคอมพิวเตอร์จะถูก เชื่อมต่อๆกันไป เป็นลูกโซ่)


2. การประมวลผลสัญญาณทางไฟฟ้าที่ใช้ในการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิตอล สัญญาณชนิดนี้ ใช้หลักการทำงานเทียบเท่าเลขฐานใด
(1) หก ระบบเลขฐานสิบ (2) ระบบเลขฐานแปด (3) ระบบเลขฐานสอง (4) ระบบเลขฐานสิบหก
ตอบ 3 ระบบเลขฐานสอง (Binary System) ที่มี 2 สภาวะคือ 0 และ 1 หรืออยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า คือ On และ Off ในการนำมาใช้แทนข้อมูลทั้งหมดภายในคอมพิวเตอร์ โดยจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “บิต” (Bit)


3. อุปกรณ์แสดงผลในข้อใดเป็นชนิด Hardcopy
(1) Screen Display (2) Sound Card (3) Laser Printer (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 Hardcopy เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีการพิมพ์ผลลัพธ์ลงบนกระดาษ ไม่ว่าจะเป็น Text หรือ Graphics ในรูปแบบต่าง ๆ ตัวอย่างของอุปกรณ์ชนิดนี้ เช่น Laser Printer, Microfilm, Microfiche เป็นต้น


4. รหัสแทนข้อมูล (Data Representation) ที่นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรหัส
8 บิต คือ
(1) ASCII (2) EBCDIC (3) HEXDEC (4) BINARY
ตอบ 2 รหัสแทนข้อมูลที่ใช้มากที่สุดในคอมพิวเตอร์มี 2 ชนิด คือ 1. ASCII – 8 เป็นรหัสขนาด 8 บิต นิยมใช้มากในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 2. EBCDIC เป็นรหัสขนาด 8 บิตเช่นกัน ส่วนใหญ่นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่


5. หน่วยความจำสำรองที่ใช้กับระบบไมโครคอมพิวเตอร์ที่เป็นชนิด Soft Disk เราเรียกว่า
(1) เทปแม่เหล็ก (2) ฟล๊อปปี้ดิสก์ (3) Fixed Disk (4) Laser Disk
ตอบ 2 Floppy Disk หรือเรียกว่า Diskette เป็นดิสก์แบบอ่อนที่จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก สำหรับการใช้งานนั้นจะต้องมี Disk Drive เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์สำหรับการอ่านหรือเขียนข้อมูล ในปัจจุบันฟล๊อปปี้ดิสก์ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 นิ้ว


6. เทคโนโลยีสารสนเทศชนิดใดที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์และผ่านระบบโทรศัพท์
ไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน เป็นระบบการทำงานในข้อใด
(1) Online Information Access (2) Interconnectivity
(3) Interactivity (4) Connectivity
ตอบ 4 การเชื่อมต่อร่วมกัน (Connectivity) คือ ความสามารถในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ โดยผ่านสายโทรคมนาคมไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ และแหล่งสารสนเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน การเชื่อมต่อในลักษณะนี้จะทำให้เกิดกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ใช้โทรคมนาการ (Telecommuting), การช็อปปิ้งทางไกล (Teleshopping), ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) และไปรษณีย์เสียง (Voice Mail)


7. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นอินพุตฮาร์ดแวร์ที่มีความสามารถสูงสุดในการป้อนข้อมูลให้คอมพิวเตอร์
และสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ก่อนการประมวลผล

(1) Keyboard (2) Mouse (3) Terminals (4) Optical mark Reader
ตอบ 1 Keyboard เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูล ซึ่งอาจเป็นคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ ลักษณะแป้นพิมพ์ของคีย์บอร์ดจะเหมือนกับเครื่องพิมพ์ดีด โดยจะประกอบด้วยแป้นที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร เครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ และคีย์พิเศษที่เรียกว่า Function Keys นอกจากนี้ยังเป็นอุปกรณ์ที่สามารถแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องก่อนการประมวลผลได้อีกด้วย


8.โทโปโลยีแบบใดเป็นการผสมผสานกันของโทโปโลยี3แบบเข้าด้วยกัน
1 แบบ mesh 2 แบบ hybrid 3แบบ star 4 แบบ ring
ตอบ2 hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน


9. ท่านทราบไหมว่า ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นคอมพิวเตอร์ตระกูลอะไร ที่ใช้ในสถาบันคอมพิวเตอร์
(1) IBM PS2 (2) VAX 6510 (3) NEC 3000 (4) UNISYS 6000
ตอบ 2 คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงนำมาใช้ในสถาบันคอมพิวเตอร์ คือ Super Mini Computer ตระกูล VAX 6510


10. หน่วยความเร็วของคอมพิวเตอร์ชนิดใดที่จัดเป็นหน่วยความเร็วสูงสุดของคอมพิวเตอร์
(1) KIPS (2) MIPS (3) MFLOPS (4) TIPS
ตอบ 3 MFLOPS หรือ MEGAFLOPS คือ หน่วยที่ใช้วัดความเร็วในการประมวลผลของ Super Computer ซึ่งมีความเร็วเป็นล้านล้านคำสั่งต่อวินาที (เร็วมากที่สุด) ส่วน MIPS คือ หน่วยที่ใช้วัดความเร็วของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ โดยมีความเร็วเป็นล้านคำสั่งต่อวินาที

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คำศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับระบบเครือข่าย

คำศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับระบบเครือข่าย
1.ADDRESSที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์

2.ADSLAsymmetric DSL หมายถึง เทคโนโลยี DSL ที่สามารถ ส่งสัญญาณข้อมูล แบบแบนด์วิดท์ไม่สมดุลย์ ผ่านคู่สายสัญญาณ เพียงคู่เดียวได้ โดยทั่วไป แบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาลง (downstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากเครือข่ายไปสู่ผู้ใช้ จะมีขนาด กว้างกว่าแบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาขึ้น (upstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากผู้ใช้ไปสู่เครือข่าย3.ATMAsynchronous Transfer Mode ซึ่งภายใต้การส่งข้อมูล แบบ ATM นี้ ข้อมูลหลายๆ ประเภท (ตัวอย่างเช่น เสียง ภาพ หรือตัวอักษร และตัวเลข) จะถูกส่งไปในรูปของ หน่วยข้อมูลที่เรียกว่า Cells ที่มีความยาว คงที่ตลอด (แทนที่จะ ถูกส่งในลักษณะของ "กลุ่ม" ข้อมูล (packets) ที่มีความยาว หลากหลายไม่คงที่ ซึ่งใช้กันใน เทคโนโลยีเช่น Ethernet และ Fiber Distributed Data Interface หรือที่เรียกว่า FDDI)
4.Backboneเปรียบได้กับ กระดูกสันหลัง ของเครือข่ายสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เป็น เส้นทางหลัก ในการส่งข้อมูล ระหว่างเครือข่าย มากกว่า ที่จะใช้ส่งข้อมูล กันภายใน

5.Bandwidthแบนด์วิดท์ หมายถึง ความจุข้อมูล ของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงระบบ Ethernet นั้น สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ เป็นจำนวน 10 ล้านบิตต่อวินาที ในขณะที่ การเชื่อมโยงระบบ Fast Ethernet นั้น สามารถส่งข้อมูลได้ เร็วกว่าถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที จึงมีแบนด์วิดท์มากกว่า เป็น 10 เท่า
6.Bridgeบริดจ์ เป็นอุปกรณ์สำหรับ ส่งผ่านกลุ่มข้อมูล (packets) ผ่านส่วนต่างๆ ของเครือข่ายสื่อสาร โดยอาศัย โปรโตคอลสื่อสาร อันเดียวกัน ในกรณีที่ กลุ่มข้อมูลนั้น ต้องถูกส่งไปยัง ผู้ใช้ปลายทาง ที่อยู่ในเครือข่าย ส่วนเดียวกันกับผู้ส่ง บริดจ์จะไม่ส่งผ่านข้อมูล ออกไป นอกส่วนเครือข่ายนั้น แต่ในกรณีที่ ต้องส่งข้อมูล ไปยังส่วนอื่น บริดจ์ก็จะส่งผ่านข้อมูล ออกไป ผ่านทาง Backbone ของเครือข่าย
7.Hubเป็นอุปกรณ์สำหรับ เชื่อมต่อภายใน ระหว่างเครื่องไคลเอ็นท์ และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เข้าด้วยกัน รวมทั้งใช้ ทวน (หรือขยาย) สัญญาณระหว่างกันด้วย ตัวฮับเองทำหน้าที่เป็น จุดรวมสาย ในระบบเครือข่าย โดยมีลักษณะโครงสร้าง เป็นรูปดาว (แทนที่จะต่อกัน เป็นลักษณะบัส ซึ่งคอมพิวเตอร์จะถูก เชื่อมต่อๆกันไป เป็นลูกโซ่)

8.BROSWERโปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่ Internter Explorer, Netscape, Opera
9.Clientไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์
10.COMPOSEการแต่ง หรือเขียนจดหมาย Email
11.DIAL UPการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์
12.DNSDomain Name Server การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP หรือใน internet
13.DOMAINกลุ่มของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่บนเครือข่าย
14.DOWNLOADการส่งผ่านข้อมูล เช่น ไฟล์ภาพ, ไฟล์ภาพยนตร์, ไฟล์เสียงเพลง จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
15.DSLเป็นคำย่อของ Digital Subscriber Line หรือคู่สายดิจิตอล เป็นเทคโนโลยี เครือข่ายสาธารณะ ที่สามารถส่งข้อมูล ด้วยความเร็วสูง ผ่านคู่สายทองแดง ธรรมดาทั่วไป เป็นระยะทางหนึ่งได้ ในปัจจุบันมี DSL อยู่ 4 ประเภทได้แก่ ADSL, HDSL, SDSL และ VDSL ซึ่งทุกประเภท จะอาศัย อุปกรณ์โมเด็มเป็นคู่ โดยอันหนึ่ง จะอยู่ที่ศูนย์ และอีกอัน จะอยู่ที่ผู้ใช้ ในกรณีที่ใช้ เป็นคู่สายไขว้ เทคโนโลยี DSL โดยส่วนใหญ่ จะไม่ใช้ แบนด์วิดท์ทั้งหมด ของคู่สายไขว้ จึงใช้ส่วนที่เหลือ เป็นช่องสัญญาณเสียงได้
16.EISAการเชื่อมต่อหรือ อินเตอร์เฟส แบบมาตราฐานของการ์ดต่าง ๆ ปัจจุบันล้าสมัยแล้ว
17.E-MAILElectronic Mail จดหมายอิเลคทรอนิกส์ ใช้สำหรับการรับ-ส่งข้อมูล
ผ่านทางเครือข่าย
18.ETHERNETอีเธอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด โดยใช้โปรโตคอล CSMA/CD (ตรวจสอบการชนกัน ของข้อมูล) ในการส่งกลุ่มข้อมูล (packets) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถส่งข้อมูล ผ่านสายเคเบิล ได้หลายประเภท ที่ความเร็วข้อมูล 10 ล้านบิตต่อวินาที เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อคือ 10BASE-T

19.Extranetเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นระบบเครือข่าย สำหรับผู้ใช้ภายนอกระบบ (เช่น ผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ขายอิสระ และตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น) ให้สามาร
ถ เข้ามาสืบค้นข้อมูล ของบริษัทเช่น ราคาสินค้า รายการสินค้าคงคลัง กำหนดการส่งของ เป็นต้น
20.Fast Ethernetเป็นระบบเครือข่ายอีกแบบ ที่ใช้วิธีการส่งข้อมูล แบบเดียวกับ ระบบอีเธอร์เน็ต (มีการตรวจจับ การชนกันของข้อมูล) แต่จะทำงานที่ ความเร็วสูงกว่าถึง 10 เท่าคือ 100 ล้านบิตต่อวินาที ระบบนี้ช่วยให้ สามารถปรับปรุง ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีการใช้งานหนาแน่น ให้มีประสิทธิภาพ การทำงานที่สูงขึ้น ได้อย่างราบรื่น เพราะใช้ระบบเคเบิล ระบบการใช้งาน และระบบการจัดการ เครือข่ายแบบเดียวกัน ระบบ Fast Ethernet นี้มีอยู่หลายแบบเช่น 100BASE-FX, 100BASE-T4 และ 100BASE-TX
21.FDDIเป็นคำย่อมาจาก Fiber Distributed Data Interface หรือระบบต่อเชื่อม กระจายข้อมูล ด้วยใยแก้วนำแสง เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่นำพื้นฐาน ของเครือข่าย แบบส่งผ่านโทเค็น มาใช้บน สายเคเบิลใยแก้วนำแสง โดยทั่วไป จะใช้สำหรับระบบเครือข่ายหลัก ขององค์กรขนาดใหญ่
22.Frame Relayเป็นบริการของ เครือข่ายพื้นที่กว้าง (WAN) ที่เป็นการเชื่อมต่อ แบบปิด-เปิด (on-and-off) ระหว่างสถานที่ ที่อยู่ห่างกัน เป็นระยะทางไกล
23.FTPย่อมาจาก File Transfer Protocol หรือโปรโตคอล ส่งผ่านไฟล์ เป็นส่วนหนึ่งของ กลุ่มโปรโตคอล อินเทอร์เนตหลัก (TCP/IP) ใช้สำหรับส่งไฟล์ จากเครื่องผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ ของคุณ
24.GATEWAYคอมพิวเตอร์ตัวกลางในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่ง ไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง25.Gigabit Ethernetกิกะบิตอีเธอร์เน็ต เป็นระบบอีเธอร์เน็ต รุ่นล่าสุด ที่สามารถทำกา รส่งข้อมูล ที่ความเร็วถึง 1000 เมกะบิต (1 กิกะบิตต่อวินาที) ซึ่งเร็วกว่า อีเธอร์เน็ต แบบดั้งเดิม ถึง 100 เท่า แต่ยังสามารถ ทำงานร่วมกับ ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีอยู่ได้ ทั้งนี้เนื่องจาก ยังใช้โปรโตคอล CSMA/CD และ Media Access Control (MAC) ที่เหมือนกัน ระบบกิกะบิตอีเธอร์เน็ตนี้ เป็นคู่แข่งโดยตรง กับ ระบบ ATM และทำให้ หมดยุคของระบบ FDDI และ Token Ring ไปโดยปริยาย
26.GUEST BOOKสมุดลงนาม ใช้สำหรับแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ web site นั้น ๆ ที่คุณเข้าไปเยี่ยมชม เป็นช่องทางแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง
27.HOME PAGEเอกสารหน้าแรก (หน้าแนะนำตัว) ของ เวิลด์ ไวด์ เว็บ ของ web site ต่างๆ
28.HOSTคอมพิวเตอร์หลัก ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล เช่น Host ของ web site ต่างๆ
29.HTMLย่อมาจาก Hypertext Markup Language ซึ่งเป็นภาษาสำหรับ กำหนดรูปแบบง่ายๆ ของเอกสาร ที่จะถูกแสดงโดย บราวเซอร์ ในระบบ อินเทอร์เน็ต
30.HTTPย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอล ที่คอยควบคุม การส่งเอกสารในรูปแบบต่างๆ บนระบบ อินเทอร์เน็ต